ระบบเสากั้นทนแรงชน
หรือ High Security Bollard เป็นเสากั้นที่ออกแบบไว้เพื่อรักษาระยะห่างของอาคาร (Standoff Distance) กับจุดที่เกิดวินาศกรรมจาก Vehicle Bomb Threat หรือ Car Bomb
เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอาคารให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะโครงสร้างของอาคาร หรือคือการป้องกันตามแนวโดยรอบนั่นเอง (perimeter security)
ระบบเสากั้นแบบ High Security
จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย สำหรับ Bollard จะมีฟังค์ชั่นการทำงานหลาบแบบ ยกตัวอย่างเช่น สามารถทำงานเคลื่อนลงได้โดยมือ ใช้แบบติดตั้งประเภทถาวร (Fixed Bollard, Static Bollard) ไม่สามารถเลื่อนขึ้นลงโดยใช้ Pump Hydraulic ในการขับเคลื่อน (Pop Up Bollard) หรือประเภทแบบที่ติดตั้งใช้การขุดเจาะไม่ลึกจะกระทบงานระบบใต้ดิน (Shallow Mount) จุดดีของการมี Bollard หลายแบบเพื่อที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั่นเอง
Bollard ควรได้มาตรฐานในการทดสอบของ Bollard ที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐาน PAS 68 หรือ ASTM โดยผ่านการทดสอบที่ระดับแรงกระแทกจากรถบรรทุกขนาด 7,500 กิโลกรัมพุ่งมาชน Bollard ที่ความเร็ว 48, 64 และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งโดยการเลือกใช้รุ่นควรคำนึงถึงความเสี่ยงของประเภทของรถ น้ำหนักและความเร็วที่อาจจะพุ่งเข้าชนอาคาร เมื่อถูกชนแล้วชุด Bollard ยังสามารถทำหน้าที่ป้องกันการพุ่งชนได้ตามข้อกำหนด
ด้วยความแข็งแรงของ Bollard ที่สามารถปกป้องอาคารได้อย่างดี ภายนอกยังสามารถเห็นความสวยงามของ Bollard ที่กลมกลืนเข้ากับสภาพภูมิทัศน์ ผู้คนและรถยนต์สามารถเดินสัญจรไปมาได้ตามปกติ ไม่มีผลต่อทิวทัศน์ อีกทั้งยังง่ายในการบำรุงรักษา
นอกจากรุ่นธรรมดาแล้วแล้วยังมีรุ่นที่เรียกว่า Shallow Mount ที่เป็นแบบถาวร ง่ายต่อการติดตั้งเพราะขุดเจาะพื้นความลึกไม่เกิน 15-20 cm. และมีความแข็งแรงไม่ด้อยกว่ารุ่นธรรมดาเพราะได้มาตรฐาน PAS 68 หรือ ASTM เช่นเดียวกัน
Bollard แบบ High Security ที่ได้ Crash Rated (High Impact Vehicle Barrier) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับอาคารที่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นอาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ธนาคาร สถานฑูต พระราชวังสำคัญ หรือ สถานที่โบราณที่มีความสำคัญและต้องการความปลอดภัยสูง
Road Blocker
ระบบเครื่องกั้นทนแรงชน (Road Blocker หรือ Wedge Vehicle Barrier) เป็นแผงเหล็กที่มีความเข็งแกร่งและทนแรงปะทะโดยถูกนํามาใช้ติดตั้งบริเวณทางเข้าพื้นที่สำคัญอาคารของหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีของยานพาหนะ ลดความเสี่ยงจากการบุกรุกหรือพุ่งชน ของยานพานะ นิยมใช้ติดตั้งบนถนนทางเข้าหลักหรือทางออกของหน่วยงานสำคัญ
ระบบเครื่องกั้นทนแรงชน จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านความปลอดภัย สําหรับ Road Blocker จะมีฟังค์ชั่นการทํางานเป็นแบบอัตโนมัติเท่านั้น สามารถเลือกใช้ประเภทของ Road Blocker ที่เป็นแบบขุดลึกหรือขุดตื้น (Shallow Mount) หรือแบบเคลื่อนที่ได้ โดยที่มาตรฐานระดับความเร็วและน้ําหนักของรถบรรทุก ที่พุ่งชนก็จะแตกต่างกันออกไปตามความเสี่ยง
Road Blocker ควรได้มาตรฐานในการทดสอบของ Road Blocker ที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐาน PAS 68 หรือ ASTM โดยผ่านการทดสอบที่ระดับแรงกระแทกจากรถบรรทุกขนาด 7,500 กิโลกรัมพุ่งมาชน Bollard ที่ความเร็ว 48, 64 และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งโดยการเลือกใช้รุ่นควรคํานึงถึงความเสี่ยงของประเภทของรถ น้ําหนักและความเร็วที่อาจจะพุ่งเข้าชนอาคาร เมื่อถูกชนแล้วชุด Road Blocker ยังสามารถทํางานได้อีกเปรียบเสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ด้วยความแข็งแรงของ Road Blocker ที่สามารถปกป้องอาคารด้วยการกั้นทางเข้าออกของรถบรรทุกได้อย่างดี แต่ภายนอกเมื่อผู้คนมองเข้าไปอาจจะดูไม่สวยงามหรือให้ความรู้สึกที่รุนแรงเพราะเป็นแผงเหล็กกั้นขนาดใหญ่ บางหน่วยงานก็จะเลือกใช้ Bollard แทน
Road Blocker แบบ High Security ที่ได้ Crash Rated เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สําหรับอาคารที่มีความสําคัญไม่ว่าจะเป็นอาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ธนาคาร สถานฑูต หรือสถานที่โบราณ ที่มีความสําคัญสูงเพื่อป้องกันการบุกรุกจากรถได้เป็นอย่างดี
UVSS
ระบบตรวจตราวัตถุต้องสงสัยใต้ท้องรถ
(UVIS, Under Vehicle Inspection System หรือ UVSS, Under vehicle Scan System หรือ AUVIS) มีไว้สำหรับตรวจจับและค้นหาวัตถุสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะมากับยานพาหนะโดยอัตโนมัติ (AUVIS, Automatic Under Vehicle Inspection System) ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าในพื้นที่นั้น จะถูกตรวจสอบก่อนโดยใช้ระบบนี้ โดยอาศัยหลักการณ์ดึงภาพบริเวณของใต้ท้องรถและนำมาเปรียบเทียบกับภาพเดิมของรถคันในฐานข้อมูล ทั้ง คนขับป้ายทะเบียนรถ เพื่อหาจุดแตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ชุดเก็บภาพยังสามารถดูได้ 2 มุม คือทำมุม 60 องศาจากด้านหน้ารถและ 60 องศาจากด้านหลังของรถ เจ้าหน้าที่ที่ใช้ระบบนี้ สามารถดูภาพผ่านหน้าจอจากซอฟท์แวร์ละตรวจหาวัตถุแปลกปลอมได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
ระบบตรวจตราใต้ท้องรถ
ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Network ในกรณีมี UVIS หลายชุด ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมเลือกที่จะดู UVIS ชุดไหนก็ได้ ง่ายต่อการบริหารจัดการและเพิ่มความปลอดภัยต่อองค์กร ด้วยระบบการอ่านทะเบียนรถที่สามารถรองรับได้ทุกประเทศทำให้ UVIS มีซอฟแวร์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อแตกต่างของภาพที่ตรวจจับ ผู้ใช้จะต้องทำการแจ้งส่วนกลางทุกครั้งหากมีการเปลี่ยนทะเบียนหรือเปลี่ยนรถเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนกลาง เหมาะสำหรับหน่วยงานราชการและองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง
Turnstile
Turnstile หรือประตูกั้นคน (Pedestrian Gate) เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้ในการตรวจสอบคนก่อนเข้าในพื้นที่หรืออาคาร โดยปกติจะต้องได้รับสิทธิ์ในการเข้าออกโดยใช้ควบคู่กับระบบ Card Reader หรือระบบ Biometric Scan System
ในปัจจุบัน ตามอาคารหรือสํานักงานของหน่วยงานต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีระบบ Turnstile เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากบุคคลภายนอกที่ อาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในอาคาร เช่นจะต้องทำการแลกบัตรลงทะเบียนก่อนขึ้นอาคาร, ลงทะเบียนถ่ายรูปผู้มาติดต่อ โดยระบบจะสามารถบันทึกการเข้าออกพื้นที่ ของอาคารนั้นๆ ได้
โดยรูปแบบของ Turnstile มีหลายรูปแบบ
เช่นแบบ Flap Barrier (ประตูปีกผีเสื้อ), แบบ Swing, แบบ Slide หรือแบบ Full Height เป็นต้น แต่โดยภาพรวมคือเป็นประตูควบคุม เพื่อความปลอดภัย โดยจะสามารถเข้าออกครั้งละ 1 คนเท่านั้น ซึ่งชนิดและรูปแบบอาจแตกต่างกันตามลักษณะอาคาร พื้นที่และ งานตกแต่งภายใน
Revolving door
ประตูหมุน Revolving Door เป็นประตูที่ออกแบบให้ใช้สําหรับทางเข้าออกสําหรับผู้คนเดินเข้าออกอาคารเพื่อก่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกเหนือจากประตูยังมีระบบรักษาความปลอดภัย โดยผู้ใช้สามารถเลือกเข้ามาใช้และเสริมในส่วนของการ รักษาความปลอดภัย ผู้ออกแบบสามารถติดตั้งชุดควบคุมการเข้าออกประตูโดยอัตโนมัติ (Access Control) ทั้งที่เป็นแบบบัตรหรือนิ้วมือเพื่อกําหนดสิทธิ์ในการเข้าออกของแค่ละบุคคล
ประตูหมุนประกอบไปด้วยแบบที่เป็น 3 ช่องและ 4 ช่องขึ้นอยู่กับตามความเหมาะสมของการใช้งาน แบบที่เป็น 4 ช่องมีไว้สําหรับการใช้งานแบบป้องกันบุคคลที่ติดตามจากอีกช่องแต่พื้นที่ของแต่ละช่องก็จะมีขนาดเล็ก นอกเหนือจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ 2 ทิศทางโดยการกําหนดที่ระบบของประตู แบบ 3 ช่องเป็นแบบที่ใช้สําหรับทิศทางเดียวเท่านั้นแต่แต่ละช่องมีพื้นที่ที่ใหญ่กว่าข้อดีของประตูหมุนคือไม่ต้องใช้ระบบการตรวจตาดูแล เหมาะสําหรับพื้นที่ที่มีความสําคัญสูง เช่นอาคารราชการ โรงแรม ธนาคาร สนามบิน เป็นต้น
Mantrap Door
High Security Portal เป็นประตูรักษาความปลอดภัยระดับสูง ซึ่งจะใช้ในพื้นที่สำคัญ ต้องการการตรวจสอบบุคคลและลักลอบหรือแอบเข้าในพื้นที่ โดย Mantrap Door มีรูปทรงเป็นลักษณะทรงกระบอกและมีประตู 2 ชั้น (Interlocking Door) สามารถคัดกรองคนที่จะเข้าไปได้เพียงทีละ 1 คนเท่านั้น โดยเทคโนโลยีของ mantrap door ที่จะต้องเลือกใช้นั้นจะมีระบบตรวจสอบที่จะร่วมทำงานให้เลือกระดับ 4 รูปแบบ คือ
- One Zone
- Two Zone Contact Mat
- ระบบตรวจสอบด้วยน้ำหนัก Weight Sensor
- ระบบตรวจสอบด้วย กล้องชนิด 3D ชนิด Stereo Vision
ซึ่งระดับความปลอดภัยจะ ขึ้นอยู่กับ ความต้องการแต่ละหน่วยงาน ซึ่งถ้าต้องการความปลอดภัยสูง ก็ต้องยอมแลกกับความรวดเร็วในการเข้าออกที่ลดลง หรืออาจจะติดตั้ง ระบบ Biometric Identify เพิ่มเติม ในประตูก็เป็นได้
ศูนย์คอมพิวเตอร์ Data Center หรือห้อง Security Room ส่วนมากจะใช้ทางเข้าห้องสำคัญ เพื่อความปลอดภัยขององค์กร
EMERGENCY PHONE
ระบบโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency Telephone System) หรือที่เรารู้จักกันว่า SOS Phone เป็นโทรศัพท์ที่ใช้แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายในพื้นที่สาธารณะ พบเห็นได้ทั่วไปทุกๆ ระยะ 500 เมตร บริเวณริมทางหลวง หรือ ทางด่วนพิเศษ บริเวณลานหรืออาคารจอดรถ สวนสาธารณะ โรงพยาบาล ฯลฯ ทั้งที่มีลักษณะเป็นเครื่องโทรศัพท์ที่ต้องยกหู และเครื่องโทรศัพท์ที่เพียงแค่กดปุ่มก็สามารถสื่อสารผ่านลำโพงได้ ซึ่งทำให้การใช้งานสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
นอกจากจะเป็นอุปกรณ์แจ้งหตุหรือขอความช่วยเหลือจากศูนย์ควบคุมกลางแล้ว (Help Point) อุปกรณ์นี้ยังสามารถออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่สะดุดตาสังเกตได้ง่ายและมีไฟสัญญาณส่องสว่างบริเวณโดยรอบ เพื่อเป็นการแจ้งเตือนและขอความช่วยเหลือจากระยะใกล้ (Panic Alarm System) อีกทั้งยังสามารถเสริมอุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (AED) เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
การเชื่อมต่อของระบบโทรศัพท์ฉุกเฉินในปัจจุบัน สามารถใช้ระบบเน็ตเวิร์คเป็นเป็นตัวบริหารจัดการใช้งาน การจัดการข้อมูล และเป็นตัวกลางของการสื่อสาร (Emergency Two-way Communication System) โดยที่ศูนย์ควบคุมจะมีเซิร์ฟเวอร์กลางเป็นหน่วยควบคุมหลัก และ IP Phone หรือโทรศัพท์ที่รองรับการเชื่อมต่อผ่านระบบเน็ตเวิร์ค ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณกลางจากโทรศัพท์ฉุกเฉินทั้งหมด
Access control and cctv surveillance system
ระบบความปลอดภัย ขั้นพื้นฐานที่ทุกองค์กร หรือหน่วยงาน นั้นต้องมีไม่พ้นระบบควบคุมการเข้าออกและระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Access control and cctv surveillance system)
โดยทั้ง 2 ระบบนี้ sitem เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ UTC Group (UTC Security solution) ซึ่งคือผลิตภัณฑ์ LENEL และ Interlogix ซึ่งปัจจุบัน ในกลุ่มอาคารอัจฉริยะ (Intelligent building) เลือกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
โดย Lenel คือผลิตภัณฑ์ open platform ที่ทั่วโลกนิยมใช้ เนื่องจากเป็นระบบที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งใช้งานง่ายและสามารถทำงานร่วมกับ (Integrated solution) ระบบความปลอดภัยอื่นๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบบริหารจัดการวีดีโอ, ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้, ระบบตรวจจับการบุกรุก และระบบบริหารจัดการกุญแจ (Key management system) นอกจากนั้น ปัจจุบันยังสามารถ ทำงานตรวจสอบและมอนิเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ APPLICATION ที่ทันยุคสมัยในปัจจุบัน
KEY management system
ระบบบริหารจัดการกุญแจแบบอัตโนมัติ (RFID Key Management System) มีลักษณะเป็นตู้เก็บกุญแจที่ควบคุมการเบิกคืนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมควบคุม Key Control ที่สามารถกำหนดและตรวจสอบผู้ใช้งานกุญแจแต่ละดอก วันและเวลาการใช้งาน รวมทั้งสามารถแจ้งเตือนเมื่อเลยกำหนดเวลาการคืนกุญแจ, การเบิกกุญแจโดยไม่ได้รับอนุญาต, ประตูตู้ถูกเปิดทิ้งไว้ รวมถึงการเปิดตู้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการใช้กุญแจผิดดอก
กุญแจแต่ละดอกเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ล็อค (Smart Key) สามารถปลดล็อกได้เฉพาะผุ้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยที่การเปิดปิดตู้ต้องใช้ระบบการสแกนลายนิ้วมือ รหัสผ่าน หรือบัตร RFID และสามารถรองรับการเปิดแบบ Manual ในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ควบคุมยังสามารถรองรับการทำรายงานที่ระบุชื่อกุญแจ, ผู้เบิกกุญแจ และช่วงเวลาการใช้กุญแจโดยไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถสั่งพิมพ์รายงานจากระยะไกล หรือแม้กระทั่งการแจ้งเตือนผ่าน E-mail
Perimeter Intrusion Detection System
ระบบ Perimeter Intrusion Detection System (PID) หรือมักจะเรียกกันว่าระบบป้องกันการบุกรุกบริเวณรอบพื้นที่เป็นระบบที่ไว้สำหรับตรวจจับการบุกรุกจากบุคคลภายนอกโดยจะติดรอบพื้นที่ที่ต้องการตรวจจับการบุกรุกในลักษณะ Perimeter เหมาะสำหรับหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นเอกชน ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีพื้นที่ใหญ่และเป็นพื้นที่ปิดเฉพาะพนักงานและผู้มีสิทธิ์เท่านั้น หลักการณ์ทำงานของระบบตรวจจับการบุกรุกจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักด้วยกัน เหมาะสำหรับองกรณ์ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และยากในการตรวตตราบริเวณโดยรอบเช่นโรงงานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย โกดัง และโรงผลิตไฟฟ้าหรือเคมี
- แบบเดินสาย (Fence Mounted) – เป็นเทคโนโลยีการเดินสายสัญญาณตรวจจับการบุกรุก (Cable Sensor) ติดตั้งที่รั้วรอบพื้นที่ ประกอบไปด้วยสายเซนเซอร์ กล่อง Signal Processor และระบบบริหารจัดการในรูปแบบของ Software โดยจะตรวจจับการบุกรุกในกรณีที่ผู้บุกรุกพยายามตัดรั้ว ปีนรั้ว หรืองัดแงะที่รั้ว โดยจะตวจจับเสียงที่เกิดบริเวณสายโดยเทียบกับเสียงในสถาวะปกติหรือตรวจจับคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic Sensors) รั้วที่สามารถใช้ร่วมกับ PID จะมี 4 ประเภท ได้แก่ Chain Link, Welded Mesh, Expanded Metal Mesh, และ Metal Palisade
- แบบฝังใต้ดิน – เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายแบบ Coaxial เพื่อสร้าง Electromagnetic Detection Field ในการตรวจจับผู้บุกรุกหรือวัตถุที่เดินข้ามบริเวณที่มีการติดตั้งสาย ผู้บุกรุกจะไม่รู้ตัวว่าตนถูกตรวจจับด้วยสายที่ฝังไว้ใต้ดิน เมื่อตรวจจับการบุกรุกแล้ว ระบบจะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลภายในอาคารเพื่อเตรียมรับสถาณการณ์ต่อไป
- แบบ Microwave หรืออุปกรณ์ตรวจจับด้วยคลื่นไมโครเวฟ – เป็นเทคโนโลยีใช้คลื่น Microwave ในการตรวจจับการบุกรุก โดยประกอบไปด้วยอุปกรณ์ส่งคลื่น Microwave (Transmitter) และอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณ (Receiver) ติดบริเวณก่อนพื้นที่ที่ต้องการตรวจจับการบุกรุก หากมีคนหรือวัตถุข้ามผ่านคลื่น Microwave ระบบจะแจ้งเตือนและสามารถบ่งบอกตำแหน่งของการบุกรุกได้
ระบบ PID ควรเลือกใช้ประเภทของเทคโนโลยีในการตรวจจับให้สอดคล้องกับ Function การใช้งานจริง ในการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยประเภท Perimeter การใช้ PID ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการตระหนักและทราบถึงภัยที่จะเกิดจากการบุกรุกของคนภายนอก เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยของทีมดูแลหรือรปภ.ของหน่วยงานนั่นเอง
ตู้บูธแบบความปลอดภัยสูง
ตู้บูธแบบความปลอดภัยสูงถูกออกแบบให้อยู่ในบริเวณทางเข้าของพื้นที่ต่างๆเพื่อให้รปภ.ได้สามารถนั่งและปฏิบัติหน้าที่ซึ่งถือเป็นปราการหลังด่านแรกที่จะต้องคอยสอดส่องดูแลพื้นที่ ในการจะออกแบบบูธ วัตถุที่ใช้ประกอบหรือสร้างบูธควรเป็นวัตถุที่สามารถป้องกันกระสุนโดยอ้างอิงจากมาตรฐาน EN หรือ UL เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินและสามารถดำเนินการอย่างมีขั้นตอนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่สำคัญ เช่นสถานฑูต ธนาคาร โรงงานไฟฟ้า น้ำมัน หรือหน่วยงานระดับชาติ ควรเลือกใช้บูธที่แข็งแรงและทนทานต่ออาวุธต่างๆที่จะถูกโจมตี เพื่อให้ความปลอดภัยกับบุคลากรและทรัพย์สินของหน่วยงานมากที่สุด
ฟิล์มทนแรงระเบิด
ฟิล์มทนแรงระเบิดโดยส่วนใหญ่จะทำจากโพลีสเตอร์ซึ่งจะถูกนำมาติดตั้งที่กระจกเพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับกระจกในกรณีที่เกิดระเบิดจากภายนอก กระจกจะไม่แตกกระจายออกเป็นเสี่ยงๆ ข้อแตกต่างระหว่างฟิล์มกันระเบิดและกระจกลามิเนตคือฟิล์มกันระเบิดสามารถนำมาติดกับกระจกเดิมที่ได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้วหรือกระจกของอาคารเดิมและต้องการจะเพิ่มความแข็งแกร่งและทนทานโดยไม่ต้องรื้อถอดออกมาแต่อย่างใด มักจะพบเห็นทั่วไปตามอาคาร รถบัส รถยนต์ และรถไฟในต่างประเทศ
พื้นผิวของฟิล์มกันระเบิดจะรียบและง่ายต่อการติดไปบนกระจก สามารถมองผ่านทะลุเหมือนกระจกทั่วไป นิยมติดที่กระจกบริเวณที่มีความเสี่ยงจากระเบิดจากภายนอก โดยที่ความหนาก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระดับของความทนทานต่อระเบิดและข้อกำหนดของผู้ออกแบบ นอกเหนือจากนี้ยังเหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณที่เสี่ยงต่อการบุกรุกเพราะความเหนียวของฟิล์มกันระเบิดจะทำให้ชะลอการบุกรุกของบุคคลภายนอก โดยทั่วไปจะใช้มาตรฐาน UL หรือ EN ในการอ้างอิงสำหรับงานออกแบบโดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ขึ้นอยู่ความต้องการของผู้ออกแบบ
วัตถุป้องกันกระสุน
วัตถุป้องกันกระสุนคือวัตถุที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอาวุธจำพวกปืนหรืออาวุธที่มีลักษณะการจริงด้วยความเร็วสูงในและในรูปแบบโปรเจ็คไตล์ ปกป้องชีวิตในกรณีเหตุการณ์ร้าย
ในการออกแบบไม่ว่าจะเป็นประตู กระจก ชัตเตอร์แบบอัตโนมัติ จะคำนึงถึงการปกป้องชีวิตคนเป็นหลัก และใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากปืนสูง หน่วยงานราชการ ธนาคาร หรือตำรวจ ทหาร ก็เลือกที่จะออกแบบให้อาคารที่มีบุคคลากรของหน่วยงานติดกระจกที่สามารถกันกระสุน ป้องกันกรณีการบุกรุกและพยายามยิงปืนโจมตีเข้ามายังภายในอาคาร
มาตรฐานที่ใช้ในการอ้างอิงของการเลือกใช้วัตถุป้องกันกระสุนควรเลือกใช้ฝั่งยุโรปและอเมริการเพราะผ่านการทดสอบมาอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น EN หรือ UL โดยจะประกอบไปด้วยหลายระดับขึ้นอยู่กับความแรงของปืนแต่ละชนิด
Physical Security Information Management
ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเป็นระบบ Software ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Security ทั้งหมดและแสดงผลออกมาให้ใช้งานในจอเดียวกัน โดยสามารถเรียกดูอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อ
ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมแสดงภาพจากกล้องวงจรปิด ระบบควบคุมการเข้าออก ชุดเสากั้นรถ ประตู ทางเข้า เซนเซอร์ต่างๆ ระบบวิเคราะห์ ระบบสื่อสาร ระบบตรวจตราของอาคาร และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้มอนิเตอร์เหตุการณ์ทั้งหมดในพื้นที่และหากเกิดเหตุผิดปกติหรือฉุกเฉิน ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจะสามารถแจ้งเตือนและตอบสนองรองรับต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจะมีคุณสมบัติหลัก 6 ข้อด้วยกัน
- เก็บข้อมูลและค่าทั้งหมดจากอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
- วิเคราะห์ข้อมูลที่มีในระบบโดยใช้ข้อมูลและค่าต่างๆรวมไปถึง Alarm ที่เกิดในประวัติ
- กำหนดประเภทของเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิด โดยมีการจัดหมดหมู่ตอนติดตั้งระบบ
- ตอบสนองเหตุการณ์โดยมีขั้นตอนรองรับอย่างละเอียดสำหรับทุกเหตุการณ์
- สรุปและจัดทำรายงานเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
- ตรวจสอบโดยในข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วและดูเรื่องเวลาในการตอบสนองของแต่ละเหตุการณ์