การออกแบบ ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ ศูนย์เทคโนโลยี ในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานศูนย์ข้อมูลทั้ง การออกแบบระบบโดยรวม อุปกรณ์ที่เลือกใช้ การติดตั้งที่ถูกต้องและการบำรุงรักษาที่ถูกวิธี ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบการออกแบบ หรือปรับปรุงศูนย์ข้อมูลจำเป็นต้องศึกษา ติดตามระบบที่ทันสมัยมาปรับใช้กับศูนย์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กร หรือลูกค้าได้อย่างดี
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายได้ โดยกรอกแบบฟอร์มบริเวณด้านล่างของหน้านี้ และเจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ หรือ ติดต่อ ทาง LINE Official ของ SITEM
เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์ต้องให้บริการตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วันต่อสัปดาห์ จึงจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนับสนุนอุปกรณ์หลักให้เป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ออกแบบ เช่น UPTIME, Bicsi, ANSI/TIA 942, ASHRAE, NFPA 13, NFPA 750, NFPA2001, มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และมาตรฐานดาตาเซนเตอร์แห่งประเทศไทยของวิศวกรรมสถาน เพื่อให้ ดาต้าเซ็นเตอร์ บรรลุจุดประสงค์ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบ ดังนี้
การเลือกสถานที่ตั้งของข้อมูลต้องคำนึงถึงความปลอดภัยรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ อุกทกภัย วาตภัยพายุหิมะ ภูเขาไฟระเบิด รวมทั้งภัยที่เกิดจากการจลาจล ที่เกิดจาการกระทำของมนุษย์ เช่น การลอบวางระเบิด การก่ออาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ
ระบบไฟฟ้าในดาต้าเซ็นเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักต้องมีขนาดเพียงพอต่อการใช้งาน และรองรับได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันออกแบบให้เป็นแบบ Dual Source สำหรับอุปกรณ์ โดยมีระบบสำรองไฟฟ้าอัตโนมัติ (UPS) ทั้งแบบที่เป็น Dynamic หรือ Static UPS รวมทั้งมีระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอัตโนมัติ (Generator System) เพื่อป้องกรณีที่เกิดไฟฟ้าดับ
การเชื่อมต่อภายในดาต้าเซ็นเตอร์ มีความจำเป็นต้องใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อจำนวนมาก และหลายแบบ เช่น สาย UTP , สาย Coaxial และสาย Fiber Optic ซึ่งต้องคำนวณถึงจำนวนสาย และปริมาณอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงมาตรฐานหลักได้แก่ ANSI/TIA942 ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งห้อง อุปกรณ์ และแหล่งกระจายสายสัญญาณให้เหมาะสม
ระบบปรับอากาศในดาต้าเซ็นเตอร์ จะถูกออกแบบให้ใช้ระบบปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น (Precision Air Condition System) ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นภาระความร้อนที่เรียกว่า ความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) ใช้ในการพิจารณาขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ต้องควบคุมที่อุณหภูมิ 22+/- 2 องศาเซลเซียล รวมถึงต้องออกแบบการกระจายลมด้วย อย่างเช่น ออกแบบให้มีการกระจายลมใต้พื้นยก
ภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ควรมีระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มิได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำความเสียหายได้ ระบบรักษาความปลอดภัยเชิงกายภาพ ประกอบไปด้วย ระบบควบคุมการเข้า-ออกอัตโนมัติ ระบบกล้องวงจรปิด ระบบตรวจจับน้ำรั่วซึมใต้พื้นยก ระบบตรวจจับควันความไวสูง ซึ่งทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ สำหรับ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ถูกออกแบบในปัจจุบัน คือระบบดับเพลิงแบบอัตโนมัติโดยหมอกน้ำ (Water Mist System) ซึ่งหัวจ่ายจะปล่อยละอองน้ำที่มีลักษณะเป็นหมอกน้ำแต่ละหยดมีความละเอียดไม่ถึง 100 ไมครอน หรือ ระบบดับเพลิงด้วยสารสะอาด ไม่ว่าจะเป็น IG-100, IG-55, Novec1230 ที่สามารถนำมาใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ โดยอ้างอิงมาตรฐาน NFPA2001
ความต้องการสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์
ระบบบริหารจัดการ และเก็บรักษาข้อมูลทางด้านสารสนเทศ (Information Technology, IT) เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจเกือบทุกขนาด ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการบริหารจัดการเครือข่ายสาขาจำนวนมาก เช่น ธนาคาร ผู้ให้บริการระบบสื่อสาร / Internet บริษัทธุรกิจน้ำมัน การไฟฟ้า หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
ทุกองค์กรต่างก็ต้องมีศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกว่า ศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) เพื่อจัดการข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ตลอดเวลา โดยศูนย์คอมพิวเตอร์นี้ อาจตั้งอยู่ภายในองค์กร หรือไปจัดหาพื้นที่ภายนอกที่มีผู้ให้เช่าศูนย์คอมพิวเตอร์ ดำเนินการจัดสร้างไว้เป็นการเฉพาะก็ได้ นอกจากนี้องค์กรแต่ละแห่งอาจมีศูนย์ข้อมูลสำรองสำหรับ การกู้คืนระบบ (Disaster Recovery Site – DR Site) เพื่อใช้ในกรณีที่ศูนย์หลัก (Main Site) มีปัญหาจากความเสียหายจากภัยพิบัติต่าง ๆ อีกด้วย
ศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้ระบบ IT ต่าง ๆ ทำงานอยู่ภายในนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต้องให้บริการตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วันต่อสัปดาห์ จึงจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สนับสนุนอุปกรณ์หลักให้เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ
การที่ระบบ IT ไม่สามารถใช้งานได้ในเวลาที่ธุรกิจต้องการ จะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ตลอดจนส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจนั้น ๆ ดังนั้นผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ทุกคน จึงมีความต้องการให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ของตน มีระบบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความเชื่อถือได้สูงและต้องการให้มีเวลาที่ใช้การได้ (Availability) มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยสามารถกำหนดได้ในหลายลักษณะ ตั้งแต่การวัดในรูปของเปอร์เซ็นต์ เช่น 99.99% (Four 9’s) หรือถ้าคิดเป็นเวลาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ต้องหยุด Downtime เท่ากับ 100%-99.99%=0.01% หรือคิดเป็นประมาณ 0.9 ชั่วโมง/ปี (0.01% x 8,760ชั่วโมง/ปี) นอกจากนี้ Availability ก็สามารถกำหนดเป็น Tier ในระดับ 1 ถึง 4 ได้ ซึ่ง UPTIME INSTITUTE หรือ TIA-942 ก็จัดระดับ Availability ในรูปแบบ Tier ส่วน BICSI ก็จัดระดับเป็น Class0 ถึง 4 เช่นเดียวกัน
ในการบรรลุเป้าหมายให้ศูนย์คอมพิวเตอร์มี Availability สูง (Downtime ต่ำ) จึงต้องอาศัยการออกแบบที่ได้มาตรฐานมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ ซึ่งมาตรฐานสากลที่นิยมใช้สำหรับเป็นแนวทางในการสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ นั้น มีอยู่ 3 มาตรฐาน คือ
- มาตรฐานของ UPTIME INSTITUTE
- มาตรฐาน TIA-942, Telecommunications Infrastructure Standard for DATA Centers Telecommunications Industry Association (TIA)
- มาตรฐาน ANSI / BICSI 002-2011: Data Center Design & Implementation best practice
มาตรฐานของ UPTIME INSTITUTE , TIA-942 ได้แบ่งระดับ Tier ออกเป็น 4 ระดับ ส่วน BICSI แบ่งเป็น 5 ระดับ แต่มีรายละเอียดต่างกัน โดยมาตรฐานของ UPTIME INSTITUTE มุ่งเน้นงานระบบวิศวกรรมที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Site Infrastructure) ของโครงการ ส่วนมาตรฐาน TIA-942 และ BICSI นั้น มีรายละเอียดครอบคลุมในภาพรวมทั้งทางด้านการเลือกพื้นที่ตั้ง งานสถาปัตยกรรม ระบบไฟฟ้า เครื่องกล และสื่อสาร โดยมาตรฐานทั้งสามสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ที่ SITEM เรายังให้ความสำคัญกับเกณฑ์การประเมินโครงการของสถาบัน TUV ประเทศเยอรมัน ที่เรียกว่า TSI-Trusted Site Infrastructure เนื้อหาของเกณฑ์ TSI นี้ จะครอบคลุมในด้านต่าง ๆ คือ Environment, Construction, Fire Protection & Alarm and Extinguishing Systems, Security Systems and Organization, Energy Supply, Air Conditioning and Ventilation, Organization โดย TUV จะทำการประเมินศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการวางแผนการก่อสร้างก็ได้ และให้ Certification กับโครงการ คล้ายกับการทำ ISO นั่นเอง
โดยการได้รับ Certification นี้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ หรือเพิ่ม Reliability แล้ว ก็อาจจะเป็นการช่วยลดค่าประกันภัยได้ ระดับ Certification ของเกณฑ์ TSI นี้จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ Level 1 ถึง Level 4 ตาม Availability ของศูนย์คอมพิวเตอร์ และในปัจจุบันมีมาตรฐานดาตาเซนเตอร์ที่ออกโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย วสท. ก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ในประเทศได้อีกด้วย