ระบบความปลอดภัย

SITEM ให้บริการด้วยโซลูชั่นที่ทันสมัยด้านความมั่นคงปลอดภัยหลายด้านด้วยกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่า การปฏิบัติการจะปลอดภัย และสามารถป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงาน หรือยิ่งไปกว่านั้น คือความสูญเสียทางด้านชีวิต และทรัพย์สิน

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายได้ โดยกรอกแบบฟอร์มบริเวณด้านล่างของหน้านี้ และเจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ หรือ ติดต่อ ทาง LINE Official ของ SITEM 

ประตูกั้นคน (Turnstile)

Turnstile หรือประตูกั้นคน (Pedestrian Gate) เป็นระบบรักษาความปลอด
ภัยที่ใช้ในการตรวจสอบคน ก่อนเข้าในพื้นที่หรืออาคาร โดยปกติจะต้องได้รับสิทธิ์ในการเข้าออกโดยใช้ควบคู่กับระบบ Card Reader หรือระบบ Biometric Scan System

ในปัจจุบัน ตามอาคารหรือสํานักงานของหน่วยงานต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีระบบ Turnstile เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากบุคคลภายนอกที่ อาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในอาคาร เช่นจะต้องทำการแลกบัตรลงทะเบียนก่อนขึ้นอาคาร, ลงทะเบียนถ่ายรูปผู้มาติดต่อ โดยระบบจะสามารถบันทึกการเข้าออกพื้นที่ ของอาคารนั้นๆ ได้

โดยรูปแบบของ Turnstile มีหลายรูปแบบ เช่นแบบ Flap Barrier (ประตูปีกผีเสื้อ), แบบ Swing, แบบ Slide หรือแบบ Full Height เป็นต้น แต่โดยภาพรวมคือเป็นประตูควบคุม เพื่อความปลอดภัยโดยจะสามารถเข้าออกครั้งละ 1 คนเท่านั้น ซึ่งชนิดและรูปแบบอาจแตกต่างกันตามลักษณะอาคาร พื้นที่และ งานตกแต่งภายใน

ประตูหมุน (Revolving Door)

ประตูหมุน Revolving Door เป็นประตูที่ออกแบบให้ใช้สําหรับทางเข้าออกสําหรับผู้คนเดินเข้าออกอาคารเพื่อก่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกเหนือจากประตูยังมีระบบรักษาความปลอดภัย โดยผู้ใช้สามารถเลือกเข้ามาใช้และเสริมในส่วนของการ รักษาความปลอดภัย ผู้ออกแบบสามารถติดตั้งชุดควบคุมการเข้าออกประตูโดยอัตโนมัติ (Access Control) ทั้งที่เป็นแบบบัตรหรือนิ้วมือเพื่อกําหนดสิทธิ์ในการเข้าออกของแค่ละบุคคล

ประตูหมุนประกอบไปด้วยแบบที่เป็น 3 ช่องและ 4 ช่องขึ้นอยู่กับตามความเหมาะสมของการใช้งาน แบบที่เป็น 4 ช่องมีไว้สําหรับการใช้งานแบบป้องกันบุคคลที่ติดตามจากอีกช่องแต่พื้นที่ของแต่ละช่องก็จะมีขนาดเล็ก นอกเหนือจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ 2 ทิศทางโดยการกําหนดที่ระบบของประตู แบบ 3 ช่องเป็นแบบที่ใช้สําหรับทิศทางเดียวเท่านั้นแต่แต่ละช่องมีพื้นที่ที่ใหญ่กว่าข้อดีของประตูหมุนคือไม่ต้องใช้ระบบการตรวจตาดูแล เหมาะสําหรับพื้นที่ที่มีความสําคัญสูง เช่นอาคารราชการ โรงแรม ธนาคาร สนามบิน เป็นต้น

ประตูหมุนแบบ Mantrap Door

Mantrap Door High Security Portal เป็นประตูรักษาความปลอดภัยระดับสูง ซึ่งจะใช้ในพื้นที่สำคัญ ต้องการการตรวจสอบบุคคลและลักลอบหรือแอบเข้าในพื้นที่ โดย Mantrap Door มีรูปทรงเป็นลักษณะทรงกระบอกและมีประตู 2 ชั้น (Interlocking Door) สามารถคัดกรองคนที่จะเข้าไปได้เพียงทีละ 1 คนเท่านั้น โดยเทคโนโลยีของ Mantrap Door ที่จะต้องเลือกใช้นั้นจะมีระบบตรวจสอบที่จะร่วมทำงานให้เลือกระดับ 4 รูปแบบ คือ

  1. One Zone
  2. Two Zone Contact Mat
  3. ระบบตรวจสอบด้วยน้ำหนัก Weight Sensor
  4. ระบบตรวจสอบด้วย กล้องชนิด 3D ชนิด Stereo Vision

ซึ่งระดับความปลอดภัยจะ ขึ้นอยู่กับ ความต้องการแต่ละหน่วยงาน ซึ่งถ้าต้องการความปลอดภัยสูง ก็ต้องยอมแลกกับความรวดเร็วในการเข้าออกที่ลดลง หรืออาจจะติดตั้ง ระบบ Biometric Identify เพิ่มเติม ในประตูก็เป็นได้

ศูนย์คอมพิวเตอร์ Data Center หรือห้อง Security Room ส่วนมากจะใช้ทางเข้าห้องสำคัญ เพื่อความปลอดภัยขององค์กร

ระบบ PID ควรเลือกใช้ประเภทของเทคโนโลยีในการตรวจจับให้สอดคล้องกับ Function การใช้งานจริง ในการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยประเภท Perimeter การใช้ PID ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการตระหนักและทราบถึงภัยที่จะเกิดจากการบุกรุกของคนภายนอก เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยของทีมดูแลหรือรปภ.ของหน่วยงานนั่นเอง

ระบบป้องกันการบุกรุกบริเวณรอบพื้นที่ (Perimeter Intrusion Detection System)

ระบบ Perimeter Intrusion Detection System (PID) หรือมักจะเรียกกันว่าระบบป้องกันการบุกรุกบริเวณรอบพื้นที่เป็นระบบที่ไว้สำหรับตรวจจับการบุกรุกจากบุคคลภายนอกโดยจะติดรอบพื้นที่ที่ต้องการตรวจจับการบุกรุกในลักษณะ Perimeter เหมาะสำหรับหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นเอกชน ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีพื้นที่ใหญ่และเป็นพื้นที่ปิดเฉพาะพนักงานและผู้มีสิทธิ์เท่านั้น หลักการณ์ทำงานของระบบตรวจจับการบุกรุกจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักด้วยกัน เหมาะสำหรับองกรณ์ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และยากในการตรวตตราบริเวณโดยรอบเช่นโรงงานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย โกดัง และโรงผลิตไฟฟ้าหรือเคมี

1. แบบเดินสาย (Fence Mounted) – เป็นเทคโนโลยีการเดินสายสัญญาณตรวจจับการบุกรุก (Cable Sensor) ติดตั้งที่รั้วรอบพื้นที่ ประกอบไปด้วยสายเซนเซอร์ กล่อง Signal Processor และระบบบริหารจัดการในรูปแบบของ Software โดยจะตรวจจับการบุกรุกในกรณีที่ผู้บุกรุกพยายามตัดรั้ว ปีนรั้ว หรืองัดแงะที่รั้ว โดยจะตวจจับเสียงที่เกิดบริเวณสายโดยเทียบกับเสียงในสถาวะปกติหรือตรวจจับคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic Sensors) รั้วที่สามารถใช้ร่วมกับ PID จะมี 4 ประเภท ได้แก่ Chain Link, Welded Mesh, Expanded Metal Mesh, และ Metal Palisade

2. แบบฝังใต้ดิน – เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายแบบ Coaxial เพื่อสร้าง Electromagnetic Detection Field ในการตรวจจับผู้บุกรุกหรือวัตถุที่เดินข้ามบริเวณที่มีการติดตั้งสาย ผู้บุกรุกจะไม่รู้ตัวว่าตนถูกตรวจจับด้วยสายที่ฝังไว้ใต้ดิน เมื่อตรวจจับการบุกรุกแล้ว ระบบจะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลภายในอาคารเพื่อเตรียมรับสถาณการณ์ต่อไป

3. แบบ Microwave หรืออุปกรณ์ตรวจจับด้วยคลื่นไมโครเวฟ – เป็นเทคโนโลยีใช้คลื่น Microwave ในการตรวจจับการบุกรุก โดยประกอบไปด้วยอุปกรณ์ส่งคลื่น Microwave (Transmitter) และอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณ (Receiver) ติดบริเวณก่อนพื้นที่ที่ต้องการตรวจจับการบุกรุก หากมีคนหรือวัตถุข้ามผ่านคลื่น Microwave ระบบจะแจ้งเตือนและสามารถบ่งบอกตำแหน่งของการบุกรุกได้

ระบบ PID ควรเลือกใช้ประเภทของเทคโนโลยีในการตรวจจับให้สอดคล้องกับ Function การใช้งานจริง ในการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยประเภท Perimeter การใช้ PID ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการตระหนักและทราบถึงภัยที่จะเกิดจากการบุกรุกของคนภายนอก เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยของทีมดูแลหรือรปภ.ของหน่วยงานนั่นเอง

ระบบเครื่องกั้นทนแรงชน (Road Blocker)

ระบบเครื่องกั้นทนแรงชน (Road Blocker หรือ Wedge Vehicle Barrier) เป็นแผงเหล็กที่มีความเข็งแกร่งและทนแรงปะทะโดยถูกนํามาใช้ติดตั้งบริเวณทางเข้าพื้นที่สำคัญอาคารของหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีของยานพาหนะ ลดความเสี่ยงจากการบุกรุกหรือพุ่งชน ของยานพานะ นิยมใช้ติดตั้งบนถนนทางเข้าหลักหรือทางออกของหน่วยงานสำคัญ

ระบบเครื่องกั้นทนแรงชน จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านความปลอดภัย สําหรับ Road Blocker จะมีฟังค์ชั่นการทํางานเป็นแบบอัตโนมัติเท่านั้น สามารถเลือกใช้ประเภทของ Road Blocker ที่เป็นแบบขุดลึกหรือขุดตื้น (Shallow Mount) หรือแบบเคลื่อนที่ได้ โดยที่มาตรฐานระดับความเร็วและน้ําหนักของรถบรรทุก ที่พุ่งชนก็จะแตกต่างกันออกไปตามความเสี่ยง

Road Blocker ควรได้มาตรฐานในการทดสอบของ Road Blocker ที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐาน PAS 68 หรือ ASTM โดยผ่านการทดสอบที่ระดับแรงกระแทกจากรถบรรทุกขนาด 7,500 กิโลกรัมพุ่งมาชน Bollard ที่ความเร็ว 48, 64 และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โดยการเลือกใช้รุ่นควรคํานึงถึงความเสี่ยงของประเภทของรถ น้ําหนักและความเร็วที่อาจจะพุ่งเข้าชนอาคาร เมื่อถูกชนแล้วชุด Road Blocker ยังสามารถทํางานได้อีกเปรียบเสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ด้วยความแข็งแรงของ Road Blocker ที่สามารถปกป้องอาคารด้วยการกั้นทางเข้าออกของรถบรรทุกได้อย่างดี แต่ภายนอกเมื่อผู้คนมองเข้าไปอาจจะดูไม่สวยงามหรือให้ความรู้สึกที่รุนแรงเพราะเป็นแผงเหล็กกั้นขนาดใหญ่ บางหน่วยงานก็จะเลือกใช้ Bollard แทน

Road Blocker แบบ High Security ที่ได้ Crash Rated เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สําหรับอาคารที่มีความสําคัญไม่ว่าจะเป็นอาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ธนาคาร สถานฑูต หรือสถานที่โบราณ ที่มีความสําคัญสูงเพื่อป้องกันการบุกรุกจากรถได้เป็นอย่างดี

ระบบตรวจตราวัตถุต้องสงสัยใต้ท้องรถ (UVSS/UVIS)

Under vehicle Inspection Scan (UVSS/UVIS) เป็นระบบสแกนใต้ท้องรถเพื่อตรวจจับวัตถุแปลกปลอม จะติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าอาคารจอดรถ

หน้าที่หลักของ ระบบนี้คือสแกนตรวจจับสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถที่จะเข้ามาจอดในอาคารหรือพื้นที่จอดรถ สามารถเก็บบันทึกภาพและประมวลผลไม่เกิน 3 วินาที และบ่งบอกถึงต่ำแหน่งของวัตถุแปลกปลอม หลังจากนั้นจะทำการแจ้งเตือน (Alarm) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงหรือแสงกระพริบก็ตาม ในกรณีหากรถที่นำเข้ามาจอดไม่มีอะไรผิดปกติ อุปกรณ์จะทำการบันทึกทะเบียนรถและลงทะเบียนในระบบเพื่อ link เข้ากับ Gate Barrier ให้เปิดต่อไป

ผู้สนใจสินค้าหรือบริการของ SITEM สามารถติดต่อปรึกษากับทีมงานได้ โดยกรอกข้อมูลด้านล่างและส่งข้อความถึงทีมงาน โดยเราจะติดต่อท่านกลับโดยเร็วที่สุดค่ะ ขอบคุณค่ะ

ชื่อ(Required)